วงจรสตาร์ทมอเตอร์โดยตรง (Direct start)

     

                 วงจรเริ่มเดินมอเตอร์โดยตรง หมายถึง วงจรที่มีการต่อแหล่งจ่ายไฟฟ้ากำลังเข้าสู่ตัวมอเตอร์เพื่อเริ่มเดิน (start) มอเตอร์โดยตรง โดยไม่ผ่านอุปกรณ์หรือวิธีการลดแรงดันใด ๆ ก่อนถึงตัวมอเตอร์
                 วงจรนี้เป็นการควบคุมมอเตอร์แบบกึ่งอัตโนมัติ
                  ใช้กับการควบคุมมอเตอร์ขนาดเล็กที่กินกระแสไม่มาก




อุปกรณ์ที่ใช้

           F1 = ฟิวส์หลัก (Main fuse)
           F2 = ฟิวส์วงจรควบคุม (Control fuse)
           K1 = คอนแทกเตอร์หลัก (Main contactor)
           S1 = สวิตช์ปุ่มกด OFF
           F3 = โอเวอร์โหลดรีเลย์ (Overload relay)
           S2 = สวิตช์ปุ่มกด ON
           M1= มอเตอร์สามเฟสแบบเหนี่ยวนำ (Three phase induction motor)

ลักษณะการทำงานของวงจร 

              1. เริ่มต้นทำงานด้วยการกดสวิตช์ปุ่มกด S2 ทำให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่านแมกเนติกคอนแทกเตอร์ K1 ครบวงจรที่นิวตรอล ทำให้ 
 K1 ทำงาน  และหน้าสัมผัสหลัก (Main contact) จ่ายไฟฟ้ากำลังเข้าสู่มอเตอร์ ทำให้มอเตอร์เริ่มหมุน หลอดไฟแสดงสถานะ H1 จะติด โดยไฟจะจ่ายผ่านทาง หน้าสัมผัสช่วยของคอนแทกเตอร์ (K1) ในแถวที่ 3 แสดงให้รู้ว่าวงจรทำงานปกติ

              2. แมกเนติกคอนแทกเตอร์ ทำงานไปตลอดเวลาถึงแม้ว่าจะปล่อยมือออกจากสวิตช์ปุ่มกด  S2  ทำให้มอเตอร์หมุนอยู่ตลอด เนื่องจากหน้าสัมผัสช่วยของคอนแทกเตอร์ (K1) ในแถวที่ 2 หรือ (self holding contact หรือ maintaining contact) ทำหน้าที่จ่ายไฟเข้าไปสู่คอล์ยของแมกเนติกคอนแทกเตอร์แทน

              3. ถ้าต้องการหยุดวงจรทำได้โดยการกดสวิตช์ปุ่มกด S1 (Push button OFF)

              4. เมื่อเกิดโหลดเกินหรือโอเวอร์โหลด (Overload) ขึ้น โอเวอร์โหลดรีเลย์ (F3) จะทำการตัดวงจร กระแสไฟฟ้าจะไหลผ่านมายัง  H2 ทำให้ 
H2 สว่าง แสดงให้รู้ว่าโอเวอร์โหลดทำการตัดวงจร ให้ทำการตรวจสอบหาสาเหตุของการตัดวงจร และสามารถกลับมาเริ่มต้นทำงานใหม่ได้อีกครั้งหลังจากตรวจสอบวงจรเรียบร้อย ด้วยการกดปุ่มรีเซ็ท (RESET) ที่โอเวอร์โหลดรีเลย์

              5. เมื่อเกิดการลัดวงจรขึ้นที่วงจรกำลัง ฟิวส์ (F1) ทำหน้าที่ตัดวงจรกำลัง หรือถ้าเกิดการลัดวงจรขึ้นที่วงจรควบคุม ฟิวส์ (F2) ทำหน้าที่ตัดวงจรควบคุมออกไป ทำให้มอเตอร์หยุดหมุน

ที่มา : http://motor.lpc.rmutl.ac.th/module10/direct_start2.html

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

การควบคุมและวงจรนิวแมติกส์ไฟฟ้า

วงจรควบคุมมอเตอร์ แบบสตาร์-เดลต้า

การกลับทางหมุนมอเตอร์ 1 เฟส