บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ตุลาคม, 2020

กระบอกสูบ

รูปภาพ
  กระบอกสูบ กระบอกสูบ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ไปยังการนำทาง ไปยังการค้นหา ภาพตัดของกระบอกสูบ ในวิชาเครื่องยนต์  กระบอกสูบ  ( อังกฤษ :  Cylinder ) คือช่องว่างทรงกระบอกภายใน เสื้อสูบ  เป็นช่องว่างเพื่อให้ ลูกสูบ สามารถเลื่อนขึ้นลงขณะเครื่องยนต์ทำงาน [1]  ดังนั้นกระบอกสูบต้องมีผิวภายในที่เรียบแข็งและมีความเสียดทานต่ำ กระบอกสูบสามารถจำแนกเป็นสองประเภท [2]  คือแบบที่หล่อเป็นชิ้นเดียวกับเสื้อสูบ และแบบที่แยกเป็นคนละชิ้นกับเสื้อสูบแล้วนำมาสวมเข้าด้วยกัน กระบอกสูบแบบแยกนี้บางครั้งเรียก  ปลอกสูบ [2]  ( อังกฤษ :  Cylinder sleeve ) ซึ่งมีอยู่สองประเภท คือปลอกสูบแบบแห้ง (ไม่สัมผัสน้ำหล่อเย็น) และปลอกสูบแบบเปียก (สัมผัสน้ำหล่อเย็น) กระบอกสูบเมื่อผ่านการใช้งานเป็นระยะเวลานานย่อมเกิดการสึกหรอซึ่งเกิดจากการเสียดสีของแหวนลูกสูบกับผนังกระบอกสูบ การสึกหรอจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสะอาดของอากาศที่ถูกดูดเข้าไปรวมถึงความสะอาดของน้ำมันหล่อลื่น ด้านบนของกระบอกสูบจะมีอุณหภูมิสูงกว่าและได้รับการหล่อลื่นได้ไม่ดีเท่าด้านล่างของกระบอกสูบ [2]  ในระหว่างที่...

Solenoid Valve

รูปภาพ
  Solenoid Valve หลักการทำงานของ Solenoid Valves โซลินอยด์วาล์ว (Solenoid Valve) คือ วาล์วที่ทำงานด้วยไฟฟ้ามันมีทั้งชนิด 2/2, 3/2, 4/2, 5/2 และ 5/3 ในบทความนี้จะได้กล่าวถึงเฉพาะวาล์วชนิด 2/2 ซึ่งใช้ควบคุมการ เปิดปิด  ของเหลว และ  ก๊าซเท่านั้น ส่วนวาล์วชนิด 3/2, 4/2, 5/2 และ 5/3 ซึ่งส่วนใหญ่ใช้กับระบบนิวแมติค และ ระบบไฮดรอลิค       เมื่อกล่าวถึงชนิดของวาล์วเป็นตัวเลขเช่น 2/2, 4/2 หรือ 5/2 นั้น ตัวเลขหน้าบอกถึงจำนวนทางเข้าออกของวาล์ว นั้นๆ ว่ามีกี่ทางหรือมีกี่รู (port) ส่วนตัวเลขที่ตามหลังเครื่องหมายทับ (/)นั้นบอกถึงจำนวนสถานะ หรือ จำนวนตำแหน่ง (position) ของวาล์ว เช่น วาล์ว 2/2 ก็คือ วาล์วที่มี 2 ทาง และ  มี 2 สถานะ คือ  ปิด และ เปิด ส่วนวาล์ว 5/2 ก็คือวาล์วที่มี 5 ทาง และมี 2 สถานะ เป็นต้น  ภาพการทำงานเบื้องต้นของโซลินอยด์วาล์ว การทำงานของโซลินอยด์วาล์ว 2/2โดยทั่วไป โซลินอยด์วาล์ว 2/2 มีการควบคุม ให้เปิดปิดได้ด้วย 3 ระบบ คือ 1.ระบบเปิดปิดโดยตรง (Direct Acting หรือ Direct Operated) 2.ระบบเปิดปิดทางอ้อม (Indirect Acting หรือ Pilot Operated...

การควบคุมและวงจรนิวแมติกส์ไฟฟ้า

รูปภาพ
  การควบคุมและวงจรนิวแมติกส์ไฟฟ้า บทความนี้ยังคงอยู่ในส่วนของความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ  วงจรนิวเมติกส์  นะครับ โดยเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพื้นฐานการควบคุมการทำงานของระบบนิวเมติกส์ และวงจรนิวเมติกส์ไฟฟ้า ไปลุยกันเลยครับ ในระบบการควบคุมงานทางด้านนิวแมติกส์ไฟฟ้า สามารถแบ่งส่วนประกอบที่สำคัญออกได้เป็นสองส่วนด้วยกัน คือ วงจรนิวแมติกส์หรือวงจรกำลัง ( Pneumatic Circuit ) วงจรไฟฟ้าหรือวงจรควบคุม ( Electric Circuit ) วงจรรักษาสภาพ (The Holding Circuit) วงจรรักษาสภาพในความหมายก็คือ เมื่อมีการกดสวิทซ์สั่งงานทั่วไปแล้ววงจรจะมีการทำงานอยู่ตลอดเวลาแม้ว่าจะไม่ได้กดสวิทซ์แล้วก็ตาม รูปที่ 2 หลักการของการรักษาสภาพ จากวงจรในรูป 2 วงจรยังไม่สามารถเนื่องจากหลังจากที่กดสวิทซ์ “No” ไปแล้ววงจรจะทำงานตลอดเวลาไม่สามารถหยุดได้ นอกจากหยุดหรือปลดแหล่งจ่ายไฟ (แบตเตอรี่) ออกจากวงจร จากเหตุผลดังกล่าวจึงต้องมีสวิทซ์อีกตัวไว้สำหรับการหยุดการทำงาน โดยจะเป็นสวิทซ์แบบปกติปิด รูปที่ 4 วงจรรักษาสภาพตามมาตรฐาน ISO การประยุกต์ใช้งานวงจรรักษาสภาพ รูปที่ 5 จากรูป : เมื่อกำหนดให้ a1 คือ ลิมิตสวิทซ์ที่ติดไว้ที่ปลายกระ...

การกลับทางหมุนมอเตอร์ 1 เฟส

รูปภาพ
วงจรกลับทางหมุนมอเตอร์ 1เฟส วงจรกลับทางหมุนมอเตอร์ 1เฟส Capacitor Start แบบมีสวิทชแรงแหวี่ยง (สวิทชแรงเหวี่ยงมีไว้เพื่อตัดวงจรขดลวดสตารทเมื่อความเร็วได้ 75%แล้ว ) ส่วนที่มี Cap 2 ลูก คือ Cap Start และ Cap Run นั้นจะมีลักษณะเหมือนกันแค่มี Cap Run คร่อมสวิทชแรงเหวี่ยงอยู่เท่านั้น ส่วนกรณีที่เป็น Split Phase จะแตกต่างกันตรงที่ไม่มี Capacitor เท่านั้น (มีสวิทชแรงเหวี่ยงเหมือนกัน) SW  คือ ขดลวดชุดสตารท RW   คือ ขดลวดชุดรัน

ระบบไฟฟ้าและการควบคุม

รูปภาพ
  2 หน้าที่และการทำงานของอุปกรณ์ในวงจรไฟฟ้า                  2.1 หน้าสัมผัสแม่เหล็กไฟฟ้า(magnetic contactor)                 หน้าสัมผัสแม่เหล็กไฟฟ้า ใช้ตัดต่อเพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆในวงจรไฟฟ้า เช่น มอเตอร์คอมเพรสเซอร์ มอเตอร์พัดลม มอเตอร์ปั้มน้ำ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ช่วยลดกระแสที่จะผ่านหน้าสัมผัสของอุปกรณ์ควบคุมต่างๆได้แก่สวิตซ์ควบคุม เทอร์โมสตัท สวิตซ์ควบคุมความดัน รีเลย์หน่วงเวลา รูปแสดงโครงสร้างและวงจรภายใน Magnetic contactor                    การเลือกใช้ Magnetic contactor มีข้อกำหนดต่างๆดังนี้ 1. ขนาดแรงเคลื่อนไฟฟ้าของขดลวดสร้างสนามแม่เหล็ก (coil) เช่น 24V , 220V ,380V เป็นต้น 2. ความสามารถในการรับกระแสของหน้าสัมผัสหลัก (main contact) เช่น 20A , 30A , 60A เป็นต้น 3. ความต้องการในการใช้งานของหน้าสัมผัสช่วย (auxiliary contact) 4. จำนวนขั้วของหน้าสัมผัสหลักที่ต้องการใช้งาน เช่น 2 ขั้ว สำหรับระบบไฟฟ้า 220V หรือ 3 ขั้ว สำหรับระบบไฟ 380...